พระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนาพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระราชธิดาพระองค์เดียว จากพระนางเจ้าสุวัทนาพระวรราชเทวี ซึ่งประสูติเมื่อวันที่๒๔ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ ก่อนที่จะเสด็จสวรรคต ณ พระที่นั่งจักรพรรดิพิมาน เมื่อวันที่ ๒๖พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๘ เวลา ๑นาฬิกา ๔๕ นาที พระชนมพรรษาเป็นปีที่ ๔๖ เสด็จดำรงสิริราชสมบัติได้ ๑๕ พรรษา
ด้านการศึกษาได้ทรงริเริ่มสร้างโรงเรียนขึ้นแทนวัดประจำรัชกาล ได้แก่โรงเรียนมหาดเล็กหลวง ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระปกเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดเกล้าฯ สถาปนาเป็นโรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัย ในระดับอุดมศึกษา เมื่อปีพ.ศ. ๒๔๕๙ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯยกฐานะโรงเรียนข้าราชการพลเรือนในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวขึ้นเป็น จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นับเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทยด้านการเศรษฐกิจได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติคลังออมสินพุทธศักราช ๒๔๕๖ ขึ้น เพื่อให้ประชาชนรู้จักออมทรัพย์และเพื่อความมั่นคงในด้านเศรษฐกิจของประเทศ ทรงริเริ่มก่อตั้งบริษัทปูนซิเมนต์ไทยขึ้น
ด้านการคมนาคมได้ทรงปรับปรุงและขยายงานกิจการรถไฟ เริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ. ๒๔๖๐ ทรงตั้งกรมรถไฟหลวง และเริ่มเปิดการเดินรถไฟสายกรุงเทพฯ ถึงเชียงใหม่ สายใต้จากธนบุรีถึงไปเชื่อมกับปีนังและสิงคโปร์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างสะพานพระราม ๖ เพี่อเชื่อมทางรถไฟในพระราชอาณาจักร
ด้านศิลปวัฒนธรรมไทยทรงโปรดศิลปะการแสดงโขนละคร จึงได้ทรงตั้ง กรมมหรสพ ขึ้นเพื่อฟื้นฟูศิลปวัฒนธรรมไทยและยังได้ทรงสร้างโรงละครหลวงไว้ในพระราชวังทุกแห่ง นอกจากนี้ยังทรงสนพระราชหฤทัยด้านจิตรกรรม สถาปัตยกรรมไทย
ด้านการต่างประเทศพระบาทสมเด็จพระมงกุฏเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระบรมราช-โองการประกาศสงครามกับประเทศฝ่ายเยอรมัน ซึ่งประกอบด้วย ออสเตรีย – ฮังการี บัลกาเรีย และตุรกี ซึ่งเป็นกลุ่มมหาอำนาจกลาง โดยประเทศไทยได้เข้าร่วมกับประเทศฝ่ายสัมพันธมิตร ซึ่งประกอบด้วยประเทศอังกฤษฝรั่งเศส และรัสเซียเป็นผู้นำ เมื่อวันที่ ๒๒ กรกฏาคม พ.ศ. ๒๔๖๐พร้อมทั้งได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ส่งทหารไทยอาสาสมัครไปร่วมรบในสมรภูมิยุโรปด้วย ผลของสงครามประเทศฝ่ายสัมพันธมิตรได้ชัยชนะ ทำให้ประเทศไทยมีโอกาสเจรจากับประเทศมหาอำนาจหลายประเทศขอแก้ไขสนธิสัญญาที่ไม่เป็นธรรม คือ สนธิสัญญาสิทธิสภาพนอกอาณาเขต และสนธิสัญญาจำกัดอำนาจการเก็บภาษีของประเทศไทย
ด้านการแพทย์และการสาธารณสุขได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งโรงพยาบาล จุฬาลงกรณ์และ วชิรพยาบาล และได้เสด็จฯ ไปทรงเปิดสถานเสาวภา เมื่อวันที่ ๗ธันวาคม พ.ศ. ๒๔๖๕ และทรงเปิดการประปากรุงเทพฯ เมื่อ วันที่ ๑๔พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๕๗ด้านกิจการเสือป่าและลูกเสือได้ทรงจัดตั้ง กองเสือป่า ขึ้นเมื่อ วันเสาร์ที่ ๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๔๕๔ และทรงจัดตั้งกองลูกเสือกองแรกขึ้นที่โรงเรียนมหาดเล็กหลวงคือ โรงเรียนวชิราวุธวิทยาลัยในปัจจุบัน
ด้านการฝึกสอนระบอบประชาธิปไตยทรงได้ศึกษาวิชาการปกครองระบอบนี้มาจากประเทศอังกฤษ ได้ทรงทดลองตั้ง เมืองมัง หลังพระตำหนักจิตรลดาเดิม ทรงจัดให้เมืองมัง มีระบอบการปกครองของตนเอง ตามวิถีทางประชาธิปไตย รวมถึงเมืองจำลอง ดุสิตธานี ในพระราชวังดุสิต ซึ่งต่อมาทรงย้ายไปพระราชวังพญาไทด้านวรรณกรรมและหนังสือพิมพ์ได้ทรงเริ่มงานประพันธ์ตั้งแต่ทรงศึกษาอยู่ ณ ประเทศอังกฤษพระราชนิพนธ์ของพระองค์มีทุกประเภท ตั้งแต่ โขน ละคร พระราชดำรัส พระบรมราชานุศาสนีย์เทศนาปลุกใจเสือป่า นิทาน มีทั้งภาษาไทย อังกฤษ และฝรั่งเศส ซึ่งเต็มไปด้วย ข้อคิดและคำคม วรรณกรรมของพระองค์ท่านจะสอนให้รักชาติ ศาสนา และพระมหากษัตริย์ ทรงส่งเสริมให้มีการแต่งหนังสือ โดยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ตราพระราชบัญญัติวรรณคดีสโมสร พระราชนิพนธ์ที่ได้รับการพิจารณายกย่อง คือ หัวใจนักรบ ด้านละครพูด มัทนะพาธาด้านคำฉันท์ และพระนลคำหลวง ด้านกวีนิพนธ์ องค์การการศึกษาวิทยาศาสตร์และวัฒนธรรมแห่งสหประชาชาติ(ยูเนสโก) ก็ได้ยกย่องพระเกียรติคุณของพระองค์ท่านในฐานะที่ทรงเป็นทั้ง นักประพันธ์ กวี และนักแต่งบทละคร ได้ทรงเป็นปราชญ์สยามคนที่ ๕ ประชาชนได้ถวายพระราชสมัญญานามว่า สมเด็จพระมหาธีรราชเจ้า สำหรับด้านงานหนังสือพิมพ์ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ตรา พระราชบัญญัติสมุด เอกสาร พ.ศ. ๒๔๖๕ ขึ้น
หัวใจชายหนุ่ม เป็นบทพระราชนิพนธ์ในพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว โดยใช้
พระนามแฝงว่า รามจิตติ เพื่อพระราชทานลงพิมพ์ ในหนังสือพิมพ์ ดุสิตสมิต เมื่อ พ.ศ. 2464 ลักษณะการพระราชนิพนธ์เป็นรูปแบบของจดหมาย มีจำนวน 18 ฉบับ รวมระยะเวลาที่ปรากฏตามจดหมายทั้งหมด 1 ปี 7 เดือน
พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้ทรงสร้างตัวละครเอกขึ้นโดยสมมติให้มีตัวตนจริง คือ ประพันธ์ ประยูรสิริ เป็นผู้ถ่ายทอดความนึกคิดและสภาพของสังคมไทยผ่านมุมมองของ ชายหนุ่ม (นักเรียนนอก) ในรูปแบบของจดหมายที่ส่งถึงเพื่อนชื่อ ประเสริฐ สุวัฒน์ โดยทรงพระราชนิพนธ์ชี้แจงไว้ในคำนวนิยาย
ลักษณะการแต่ง
หัวใจชายหนุ่มเป็นร้อยแก้วในรูปแบบของจดหมายโดยมีข้อควรสังเกตสำหรับรูปแบบจดหมายทั้งหมด 18ฉบับในเรื่อง ดังนี้
1).หัวจดหมาย ตั้งแต่ฉบับที่ 1 วันที่ 23 กันยายน พ.ศ. 246- จนถึงฉบับสุดท้ายวันที่ 30 มีนาคม พ.ศ. 246- จะเห็นว่ามีการเว้นเลขท้ายปี พ.ศ.ไว้
2).คำขึ้นต้นจดหมาย ทั้ง 18 ฉบับ ใช้คำขึ้นต้นเหมือนกันหมด คือ “ถึงพ่อประเสริฐเพื่อนรัก”
3).คำลงท้าย จะใช้คำว่า “จากเพื่อน...” “แต่เพื่อน...” แล้วตามด้วยความรู้สึกของนายประพันธ์ เช่น “แต่เพื่อนผู้ใจคอออกจะยุ่งเหยิง” (ฉบับที่ 10) มีเพียง 9 ฉบับเท่านั้น ที่ไม่มีคำลงท้าย
4).การลงชื่อ ตั้งแต่ฉบับที่ 14 เป็นต้นไปใช้บรรดาศักดิ์ที่ได้รับพระราชทาน คือ “บริบาลบรมศักดิ์”โดยตลอด แต่ฉบับที่ 1-13 ใช้ชื่อ“ประพันธ์
5).ความสั้นยาวของจดหมาย มีเพียงฉบับที่ 14 เท่านั้นที่มีขนาดสั้นที่สุด เพราะเป็นเพียงจดหมายที่แจ้งไปยังเพื่อนว่าตนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์
จุดมุ่งหมาย
1.เพื่อให้รู้ถึงวิถีชีวิตของชายหนุ่มไทย
2.แสดงให้เห็นวิธีเขียนจดหมายที่ถูกต้อง
3.สื่อถึงพระราชดำหริของพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว
4.เข้าใจในความรักของหนุ่มสาวในอดีต
5.รับรู้การแต่งบทประพันธ์ที่ถูกต้องและถูกต้องตามหลักการ
6.สื่อการแต่งงานแบบคลุมถุงชนในอดีต
7.สื่อถึงประเพณีการแต่งงานกับชาวต่างชาติว่าแตกต่างกับคนไทยอย่างไร
8.สื่อถึงชายหนุ่มที่เมื่อไปอยู่ต่างบ้านต่างเมืองเป็นเวลานานอาจแสดงพฤติกรรมของวัฒนธรรมตะวันตกแต่ถึงอย่างไรก็ไม่สามารถลืมวัฒนธรรมของถิ่นกำเนิดตัวเองได้
เนื้อเรื่อง
ฉบับที่ 1
นายประพันธ์ ประยูรสิริ ได้ส่งจดหมายถึงนายประเสริฐ สุวัฒน์ ซึ่งเป็นเพื่อนรักกัน เป็นฉบับแรก เนื้อความในจดหมายกล่าวถึงการเดินทางกลับมายังประเทศไทยจากลอนดอนของนายประพันธ์ นอกจากนั้นยังบรรยายถึงความเสียใจที่ไปกลับประเทศไทยและการดูถูกบ้านเกิดเมืองนอนของตนเอง และได้เล่าถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นระหว่างการเดินทางกลับภายในเรือโดยสาร คือ ได้พบปะกับผู้หญิงคนหนึ่งที่ตนเองสนใจ แต่ต้องผิดหวังเนื่องจากหล่อนมีหวานใจมารอรับ ที่ท่าเรืออยู่แล้ว
ฉบับที่ 4
จดหมายในฉบับที่ 4 นี้กล่าวถึง การกลับมาถึงประเทศไทย และการเข้ารับราชการ ซึ่งใช้เส้นแต่ไม่สำเร็จผล นอกจากนี้คุณพ่อของนายประพันธ์ได้หาภรรยาไว้ให้นายประพันธ์แล้ว หล่อนชื่อ กิมเน้ย เป็นลูกสาวของนายอากรเพ้ง ซึ่งพ่อของนายประพันธ์รับรองว่าเป็นคนดีสมควรแก่นายประพันธ์ด้วยประการทั้งปวง แต่ด้วยนายประพันธ์เป็นนักเรียนนอก จึงไม่ยอมรับเรื่องการคลุมถุงชน จึงได้ขอดูตัวแม่กิมเน้ย ก่อน นอกจากนั้นในจดหมายได้เล่าถึง การพบปะกับผู้หญิง คนหนึ่งที่ตนถูกใจที่โรงพัฒนากรด้วย
ฉบับที่ 5
จดหมายฉบับที่ 5 กล่าวถึง การได้เข้ารับราชการของนายประพันธ์ นายประพันธ์ได้เข้ารับราชการในกรม-พานิชย์และสถิติพยากรณ์ และนายประพันธ์ได้พอกับแม่กิมเน้ย หน้าตาของหล่อนเหมือนนายซุนฮูหยิน แต่ก็ยังไม่เป็นที่ถูกใจของนายประพันธ์ นอกจากนั้นนายประพันธ์ได้เล่าถึงผู้หญิงที่เจอในโรงพัฒนากร หล่อนชื่อนางสาวอุไร พรรณโสภณ เป็นลูกสาวของพระพินิฐพัฒนากร
ฉบับที่ 6
จดหมายฉบับที่ 6 กล่าวถึง การได้นับพบแม่อุไร การไปเที่ยวในระหว่างงานฤดูหนาว ทุกวัน ทุกคืน และได้บรรยายถึงรูปร่างลักษณะองแม่อุไร ว่าเป็นคนสวยน่ารัก และกล่าวว่า แม่อุไรงามที่สุดในกรุงสยาม แม่อุไรมีลักษณะเหมือนฝรั่งมากกว่าคนไทย มีการศึกษาดี โดยสิ่งที่ นายประพันธ์ชอบมากที่สุดคือ การเต้นรำ ซึ่งแม่อุไรก้อเต้นรำเป็นอีกด้วย
ฉบับที่ 9
จดหมายฉบับที่ 9 กล่าวถึง การแต่งงานการแม่อุไรโดยรีบรัด เนื่องจากสาเหตุการนัดพบเจอกันบ่อยครั้ง จนทำให้แม่อุไรตั้งครรภ์ขึ้นมา การสู่ขอนั้นคุณพ่อได้ไปขอให้ท่านเจ้าคุณมหาดเล็กไปสู่ขอ หลังจากแต่งงานทั้งคู่ได้ไปฮันนี่มูนที่หัวหินด้วยกัน.
ฉบับที่ 11
ประพันธ์กลับกรุงเทพได้ 3อาทิตย์ มาอยู่ที่บ้านใหม่ บ้านใหม่ที่เขาคิดว่าไม่มีความสุขเลย ประพันธ์ได้เล่าให้พ่อประเสริฐฟังถึงตอนที่อยู่เพชรบุรีว่า ได้ทะเลาะกับแม่อุไร แล้วเลยกลับกรุงเทพ มีเรื่องขัดใจ มีปากเสียงกันตลอดขากลับ เมื่อมาถึงที่บ้านใหม่ ก็ต้องมีเรื่องให้ทะเลาะกัน แม่อุไร ไม่อยากจัดบ้านขนของ เพราะถือตนว่าเป็นลูกผู้ดี และนอกจากนั้นก็มีเหตุให้ขัดใจกันเรื่อยๆ ไม่ว่าประพันธ์จะทำอะไร แม่อุไรก็มองว่าผิดเสมอ
ฉบับที่ 12
แม่อุไรได้แท้งลูก และสิ้นรักประพันธ์แล้ว แต่ประพันธ์ก็ยังทนอยู่กับแม่อุไร ยอมฝืนรับชะตากรรม แม่อุไรชอบไปเที่ยวและชอบไปคนเดียว พอประพันธ์ถามว่าไปไหน แม่อุไรก็โกรธฉุนเฉียว นานเข้าห้างร้านต่างๆก็ส่งใบทวงเงินมาที่ประพันธ์ ประพันธ์จึงเตือนแม่อุไร แต่แม่อุไรกลับสวนกลับมาว่า ประพันธ์ไม่สืบประวัติของเธอให้ดีก่อน และเธอก็จะไม่ปรับเปลี่ยนตัวเอง ประพันธ์จึงต้องไปขอเงินพ่อเพื่อใช้หนี้ ต่อมาพ่อของประพันธ์จึงลงแจ้งความในหนังสือพิมพ์ เรื่องจะไม่ชดใช้หนี้ให้แม่อุไร เมื่อแม่อุไรเห็นแจ้งความ จึงลงย้อนกลับบ้าง แล้วแม่อุไรก็กลับไปอยู่บ้านพ่อของเธอ คุณหลวงเทพปัญหามาหาประพันธ์ คุยเรื่องต่างๆกัน รวมถึงเรื่องแม่อุไร ที่เที่ยว อยู่กับพระยาตระเวนนคร ด้วยความเป็นห่วงแม่อุไร จึงส่งจดหมายไปกล่าวเตือน แต่ถูกฉีก เป็นชิ้นๆ กลับมา ต่อมาหลวงเทพก็มาหาประพันธ์ เพื่อบอกว่าแม่อุไรไปค้างบ้านพระยา ตระเวนนคร แล้ว และหลวงเทพก็รับธุระเรื่องขอหย่า ตอนนี้ประพันธ์จึงกลับมาโสดอีกครั้ง
ฉบับที่ 13
ประพันธ์มีความสุขที่ได้กลับมาเป็นโสดอีกครั้ง ส่วนแม่อุไรก็ไปอยู่กับพระยาตระเวน
พระยาตระเวนมีนางบำเรออยู่ถึง 7นาง และทั้งหมดก็แผลงฤทธิ์เวลาพระยาไม่อยู่ พระยาตระเวนจึงหาบ้านให้แม่อุไรอยู่อีกหนึ่งหลัง ประพันธ์ได้ย้ายตำแหน่งการทำงาน มาเป็นผู้ช่วยเจ้ากรมโรงเรียนในพระบรมราชูปถัมภ์ ทางเสือป่า ประพันธ์ เข้าประจำกรมม้าหลวง
ฉบับที่ 15
ประพันธ์คิดว่างานเฉลิมฉลองพระชนมพรรษาคงจะสนุกมาก พระยาตระเวนก็สนุกเหมือนกัน เพราะไปไหนมาไหนเป็นชายโสด เนื่องจากพระยาตระเวนกับแม่อุไรยังไม่ได้เป็นผัวเมียกันตามกฎหมาย ตอนนี้พระยาตระเวนติดผู้หญิงที่ชื่อสร้อย แต่แม่อุไรก็ยังได้แต่นิ่งเฉยไม่สามารถทำอะไรได้
ฉบับที่ 17
ประพันธ์ไปอยู่ที่ค่ายตอนนี้ได้เลื่อนยศเป็นนายหมู่ใหญ่ขึ้น พอกลับบ้าน แม่อุไรก็มาหาประพันธ์ที่บ้าน หล่อนมาง้อประพันธ์ให้ชุบเลี้ยงหล่อนอีกครั้ง เพราะหล่อนไม่มีที่ไป บ้านที่หล่อนเคยอยู่ พระยาตระเวนก็ยกให้แม่สร้อย จะไปหาพ่อ ก็เคยพูด อวดดีกับพ่อไว้ แต่ประพันธ์เห็นว่า ให้หล่อนกลับไปง้อพ่อจะดีกว่า หล่อนจึงไปง้อพ่อแล้วก็ไปอยู่กับพ่อ
ฉบับที่ 18แม่อุไรได้แต่งงานกับหลวงพิเศษ ผลพานิช พ่อค้ามั่งมี ประพันธ์จึงคลายห่วง ส่วนประพันธ์ก็ได้รักชอบพอกับ นางสาวศรีสมาน ลูกสาวพระยาพิสิฐเสวก
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น